ส่องนาฬิกาโลก ไทยเคานต์ดาวน์ปีใหม่ 2567 เป็นประเทศที่เท่าไรของโลก-

ด้วยความที่โลกเป็นทรงกลม ซึ่งหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เรื่องของ “วัน-เวลา” ในแต่ละพื้นที่บนโลกไม่เท่ากัน มีประเทศที่ขึ้นวันใหม่ก่อนใคร และมีประเทศที่ขึ้นวันใหม่ช้าที่สุดในโลก หรือในแต่ละประเทศเอง แต่ละพื้นที่ก็เห็นแสงแรกของพระอาทิตย์ในเวลาที่ต่างกัน

และในช่วงใกล้ปีใหม่ 2567 อย่างนี้ เรื่องของวัน-เวลาดูจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะแต่ละประเทศจะได้เคานต์ดาวน์นับถอยหลังก้าวเข้าสู่ปีใหม่ในเวลาที่แตกต่างกัน มาดูกันว่าประเทศไทยของเราก้าวเข้าสู่ปีใหม่เป็นลำดับที่เท่าไรของโลก

เช็ก!สภาพอากาศ ช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2567

รวมแลนด์มาร์กที่ “เคานต์ดาวน์ปีใหม่ 2024” ดูพลุคืนส่งท้ายปีทั่วไทย

6 แอปดูรถติด เช็กการจราจรก่อนเดินทางในช่วงปีใหม่

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า แม้ 1 วันบนโลกจะมี 24 ชั่วโมงตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ในการแบ่งเส้นเวลาหรือไทม์โซนบนโลกไม่ได้แบ่งออกง่าย ๆ เป็น 24 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยถูกกำหนดด้วย “เส้นวันที่สากล” แทน

เส้นวันที่สากลได้กำหดนจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของแต่ละวัน โดยถูกนำมาใช้ครั้งแรกช่วงปี 1884 ที่ทั่วโลกพยายามจัดระเบียบการเดินรถไฟและการเดินทางระหว่างประเทศ ให้มีเวลาที่เป็นสากลและทุกคนเข้าใจตรงกัน

เส้นวันที่สากลจะลากตามเส้นเมริเดียนที่ 180 จากเหนือจรดใต้ผ่านกลางมหาสมุทรแปซิฟิก โดยตัดผ่านที่เมืองกรีนิชของอังกฤษพอดี และกำหนดให้จุดนั้นเป็นเวลาที่ 0 (UTC+0)

ทั้งนี้ ประเทศต่าง ๆ มีอิสระที่จะตัดสินใจว่า ต้องการอยู่ในไทม์โซนไหนของเส้นวันที่สากล ซึ่งส่งผลให้เส้นไทม์โซนไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นขีดจากขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ตรง ๆ แต่ซิกแซกไปมาชวนปวดหัว

ทำให้ปัจจุบัน โลกของเรามีไทม์โซนอยู่มากถึง 38 ไทม์โซน ตั้งแต่ UTC+14 (เร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 14 ชั่วโมง) ที่ฝั่งตะวันออกสุดของโลก จนถึง UTC-12 (ช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 12 ชั่วโมง) ที่ฝั่งตะวันตกสุดของโลก โดยที่บางไทม์โซนก็ลงท้ายด้วย 30 นาทีหรือ 45 นาที ไม่ได้ห่างจากไทม์โซนอื่นทีละ 1 ชั่วโมง

นั่นทำให้ประเทศหรือพื้นที่ที่อยู่ในไทม์โซน UTC+14 จะเป็นกลุ่มแรกที่เข้าสู่วันใหม่ก่อนใคร ซึ่งรวมถึงการเข้าสู่ปีใหม่ก่อนใครเพื่อนด้วย ส่วนประเทศใน UTC-12 ก็จะเข้าสู่ปีใหม่ช้าที่สุดในโลกนั่นเอง

และนี่คือลำดับก่อน-หลังการเข้าสู่ปีใหม่ของประเทศต่าง ๆ

ลำดับที่ 1 (UTC+14) “เกาะคริสต์มาส” พื้นที่แรกของโลกที่ได้เข้าสู่ปีใหม่

พื้นที่แรกของโลกที่จะได้ต้อนรับปีใหม่ 2567 คือเกาะคิริติมาตี มีอีกชื่อว่า “เกาะคริสต์มาส” (Christmas Island) เป็นหนึ่งใน 33 เกาะที่ประกอบกันเป็นประเทศคิริบาตี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง

เกาะคริสต์มาสและเกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอีก 10 กว่าเกาะถือเป็นจุดแรกของโลกที่ได้ขึ้นปีใหม่ โดยเดิมทีคิริยาตีเคยถูกผ่ากลางด้วยเส้นเวลา ทำให้ครึ่งหนึ่งของประเทศจะช้ากว่าอีกครึ่งหนึ่งถึง 1 วันเต็ม แต่ในปี 1995 คิริบาตีได้ย้ายเส้นวันที่สากลเพื่อให้เกาะทั้งหมดของประเทศอยู่ในวัน-เวลาเดียวกัน

คิริบาตี โดยเฉพาะเกาะคริสต์มาส ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมากในช่วงปลายปี ในฐานะจุดแรกที่จะได้ขึ้นปีใหม่ก่อนใคร

ลำดับ 2 (UTC+13.45) – เกาะชาแธม (Chatham) ของนิวซีแลนด์ ขึ้นปีใหม่ช้ากว่าเกาะคริสต์มาส 15 นาที

ลำดับ 3 (UTC+13) – นครเวลลิงตันของนิวซีแลนด์, หมู่เกาะฟีนิกซ์ของคิริบาตี, ประเทศตองกา, เกาะอาปีอาของซามัว

ลำดับ 4 (UTC+12) – ภูมิภาคชูคอตกาของรัสเซีย, นาอูรู, ตูวาลู, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ฟิจิ, เกาะนอร์ฟอล์กของออสเตรเลีย, เกาะทาราวาของคิริบาตี

ลำดับ 5 (UTC+11) – ออสเตรเลีย (ซิดนีย์ เมลเบิร์น แคนเบอร์รา), หมู่เกาะโซโลมอน, ไมโครนีเซีย, วานูอาตู

ลำดับ 6 (UTC+10.30) – ออสเตรเลีย (อเดเลด)

ลำดับ 7 (UTC+10) – ออสเตรเลีย (บริสเบน), ปาปัวนิวกินี, เกาะกวม

ลำดับ 8 (UTC+9.30) – ออสเตรเลีย (ดาร์วิน)

ลำดับ 9 (UTC+9) – ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, ปาเลา, อินโดนีเซีย (ชัยปุระ), ติมอร์ตะวันออก

ลำดับ 10 (UTC+8.45) – ออสเตรเลียตะวันตก

ลำดับ 11 (UTC+8) – จีน (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้) มาเก๊า, ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย (บาหลี), มองโกเลีย, บรูไน, ออสเตรเลีย (เพิร์ธ)

ลำดับ 12 (UTC+7) – ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, อินโดนีเซีย (ชวา)

ลำดับ 13 (UTC+6.30) – เมียนมา

ลำดับ 14 (UTC+6) – บังกลาเทศ ภูฏาน, คีร์กีซสถาน

ลำดับ 15 (UTC+5.45) – เนปาล

ลำดับ 16 (UTC+5.30) – อินเดีย, ศรีลังกา

ลำดับ 17 (UTC+5) – รัสเซีย (เยคาเตรินเบิร์ก), ปากีสถาน, คาซัคสถาน, มัลดีฟส์

ลำดับ 18 (UTC+4.30) – อัฟกานิสถาน

ลำดับ 19 (UTC+4) – ยูเออี, มาร์เมเนีย, จอร์เจีย, โอมาน, มอริเชียส

ลำดับ 20 (UTC+3.30) – อิหร่าน

ลำดับ 21 (UTC+3) – รัสเซีย (มอสโก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก), อิรัก, เบลารุส, ตุรกี, จอร์แดน, เยเมน, กาตาร์, มาดากัสการ์, เคนยา, โซมาเลีย

ลำดับ 22 (UTC+2) – กรีซ, รัสเซีย (คาลินินกราด), ยูเครน, ซูดาน, อิสราเอล, แอฟริกาใต้

ลำดับ 23 (UTC+1) – ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, เดนมาร์ก, ออสเตรีย, นอร์เวย์, โปแลนด์, ไนจีเรีย

ลำดับ 24 (UTC+0) – สหราชอาณาจักร, โปรตุเกส, ไอร์แลนด์, ไอซ์แลนด์, กานา, มาลี

ลำดับ 25 (UTC-1) – กรีนแลนด์ (อิตต็อกคอร์ทูร์มิต), กาบูเวร์ดี

ลำดับ 26 (UTC-2) – กรีนแลนด์ (นุก)

ลำดับ 27 (UTC-3) – บราซิล (ริโอเดอจาเนโร), ชิลี, อาร์เจนตินา, อุรุกวัย

ลำดับ 28 (UTC-3.30) – แคนาดา (นิวฟาวด์แลนด์และลาบราดอร์)

ลำดับ 29 (UTC-4) – แคนาดา (โนวาสกอเชีย), เวเนซุเอลา, เบอร์มิวดา, ปวยร์โตริโก

ลำดับ 30 (UTC-5) – สหรัฐฯ (นิวยอร์ก) แคนาดา (โทรอนโต), เปรู, โคลอมเบีย, เอกวาดอร์

ลำดับ 31 (UTC-6) – สหรัฐฯ (ชิคาโก), เม็กซิโก, เอลซัลวาดอร์, นิการากัว

ลำดับ 32 (UTC-7) – สหรัฐฯ (เดนเวอร์), แคนาดา (เยลโลว์ไนฟ์)

ลำดับ 33 (UTC-8) – สหรัฐฯ (ลอสแอนเจลิส), แคนาดา (แวนคูเวอร์)

ลำดับ 34 (UTC-9) – สหรัฐฯ (แองคอเรจ), เฟรนช์พอลินีเซีย (หมู่เกาะแกมเบีย)

ลำดับ 35 (UTC-9.30) – เฟรนช์พอลินีเซีย (หมู่เกาะมาร์เคซัส)

ลำดับ 36 (UTC-10) – สหรัฐฯ (ฮาวาย), หมู่เกาะคุกส์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ1

 ส่องนาฬิกาโลก ไทยเคานต์ดาวน์ปีใหม่ 2567 เป็นประเทศที่เท่าไรของโลก-

ลำดับ 37 (UTC-11) – เป็นไทม์โซนสุดท้ายที่มีผู้คนอาศัยอยู่ ประกอบด้วย อเมริกันซามัว, หมู่เกาะมิดเวย์, เกาะจาร์วิส, แนวปะการังคิงแมน จึงนับเป็นดินแดนสุดท้ายที่ได้เฉลิมฉลองปีใหม่

ลำดับ 38 (UTC-12) – เกาะเบเกอร์ และเกาะฮาวแลนด์ เป็นเกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ และไม่มีพื้นที่ที่อาศัยอยู่ได้ ทำให้แม้จะเป็นไทม์โซนสุดท้าย แต่ที่นี่ก็ไม่มีการเคานต์ดาวน์ปีใหม่ (เพราะไม่มีคน!)

เรียบเรียงจาก National Geographic / World Time Zone

ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 30 ธันวาคม 2566 ลอตเตอรี่ 30/12/66

อวสานเลี้ยงปีใหม่! ลูกจ้างตีกันเจ้านายสั่งปิดงาน

8 สถานที่ไหว้ “พระธาตุประจำวันเกิด” เสริมมงคลต้อนรับปี 2567

You May Also Like

More From Author